วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อิหร่าน อาเซอร์ไบจัน ตามรอยไฟศักดิ์สิทธิ์ Tehran (กรุงเตหะราน)

อิหร่าน อาเซอร์ไบจัน ตามรอยไฟศักดิ์สิทธิ์ Tehran (กรุงเตหะราน)



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ National Museum ที่มีชื่อเสียงซึ่งได้เก็บสะสมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จากทั่วทุกแห่งในอิหร่านถูกนำมารวมกันไว้ที่นี่และที่สำคัญที่สุด สิ่งของเครื่องใช้ในราชวงศ์ของอะคาเมนิดที่ย้อนอดีตไปถึง 2,600 ปี พร้อมกันนั้นก็ยังได้แสดงถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรเปอร์เซียในอดีตอีกด้วย



พิพิธภัณฑ์สถานแramห่งชาติ National Museum



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ National Museum



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ National Museum



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ National Museum



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ National Museum



พระราชวังโกเลสตาน Golestan Palace หรือวังสวนกุหลาบ ประกอบด้วยตำหนักต่างๆ 7 อาคารอยู่ในบริเวณเดียวกัน วังแห่งนี้มีอาคารรูปลักษณ์โบราณและคลาสสิคแบบยุโรป วังแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มาก ย้อนไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ ซาฟาวิด เมื่อคริสต์วรรษที่ 16 สิ่งที่เหลืออยู่คือ ป้อมสูง (Citadel) สำหรับส่องดูข้าศึก และสถานอาบน้ำแบบเติร์ก ส่วนอาคารแบบตะวันตกนั้นมีเพิ่มเข้ามาเมื่อกษัตริย์ราชวงศ์รองสุดท้าย คือราชวงศ์คาจาร์ คือกษัตริย์นัสเซอร์ อัล-ดิน ชาห์ ได้เสด็จยุโรปแล้วนำความเจริญทางด้านรูปธรรมเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชิวิตของชาวอิหร่าน หลังจากนั้นชม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ซึ่งจัดแสดงวัตถุทางประวัติศาสตร์ยุคต่างๆ ซึ่งมิได้หลุดไปอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือเยอรมนี



พระราชวังโกเลสตาน Golestan Palace



พระราชวังโกเลสตาน Golestan Palace



หอคอยอาซาดี Azadi Tower สัญลักษณ์แห่งความเรืองอำนาจแห่งยุคของกษัตริย์ปาห์ลาวี ที่สูงเด่นเป็นสง่าใจกลางเมือง อ อนุสาวรีย์รูปตัว Y กลับหัวตั้งตระหง่านอยู่ในกลางเมือง เป็นเครื่องหมายแสดงถึงอิสระภาพของประชาชนชาวอิหร่านและความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเปอร์เซียตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อกแบบโดยใช้สัญญลักษณ์ อาร์คเปอร์เซีย ซ้อนกันหลายชั้น เป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมเปอร์เซีย



หอคอยอาซาดี Azadi Tower



หอคอยอาซาดี Azadi Tower



กรุงเตหะราน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ เมืองนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเทือกเขาอัลบอร์ช ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร สร้างขึ้นในราว ปี ค.ศ. 900 จากหมู่บ้านเล็กๆ และได้รับการพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองมาตลอด จนกระทั่งสิ้นสุดราชวงศ์ปาห์ลาวี ระหว่างทางชมความเป็นอยู่ของชาวอิหร่านที่มีประวัติศาสตร์มานานกว่า 6,000 ปี



กรุงเตหะราน Tehran



พระราชวังซาตอาบัต Sa’at Abad Palace ในพระราชวังนี้ประกอบไปด้วยพระตำหนักถึง 7 แห่งด้วยกัน ประกอบด้วยตำหนักต่างๆที่สวยงาม



พระราชวังซาตอาบัต Sa’at Abad Palace ในพระราชวังนี้ประกอบไปด้วยพระตำหนักถึง 7 แห่งด้วยกัน ประกอบด้วยตำหนักต่างๆที่สวยงาม



พระราชวังซาตอาบัต Sa’at Abad Palace ในพระราชวังนี้ประกอบไปด้วยพระตำหนักถึง 7 แห่งด้วยกัน ประกอบด้วยตำหนักต่างๆที่สวยงาม



พระตำหนักเขียว Green Palace



พระตำหนักขาว White Palace



พิพิธภัณฑ์เครื่องเพชรพลอย National Jewels Museum สถานที่แห่งนี้ถูกดูแลรักษาและการบริหารงานอย่างเข้มงวดโดยธนาคารชาติของอิหร่าน ภายในเต็มไปด้วยเครื่องเงินทองและเครื่องประดับอัญมณีเพชรพลอยไข่มุกอันล้ำค่ามากมายเกินกว่าจะประมาณราคา ซึ่งมีของที่สำคัญต่างๆ หลายอย่าง เช่น เพชรสีชมพู (Darya e Noor/Sea of Light) เป็นเพชรสีชมพูที่เม็ดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็น 1 ใน 5 ของโลก มีน้ำหนักถึง 182 การัต ลูกโลก (Global of Jewel) ที่ประดับด้วยอัญมณีเพชรนิลจินดา 51,366 ชิ้น ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 18,200 การัต พระราชบัลลังก์ฯ (Naderi Shah Throne) เป็นของกษัตริย์นาเดรี ซาห์ ที่ทรงสั่งให้สร้างมีความสูง 2.25 เมตร ประดับด้วยเพชรนิลจินดามากกว่า 26,000 ชิ้น มงกุฎเกียนี (Kiani Crown)



พิพิธภัณฑ์พรม Carpet Museum ซึ่งตั้งอยู่กลางกรุงเตหะราน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการก่อสร้างรูปทรงทันสมัยและมีชื่อเสียง ภายในอาคารได้ถูกตกแต่งแบบสมัยใหม่และอย่างเป็นระเบียบ ที่แห่งนี้ได้ถูกเก็บสะสมพรมจากที่ต่างๆ ในอิหร่านนำมารวมกันไว้ที่นี่ ซึ่งมีทั้งพรมผืนเล็กและใหญ่สุดต่างๆ กันไป และที่น่าตื่นตาตื่นใจมากที่สุดก็คือ ลวดลายที่เลียนแบบพรมผืนแรกของโลกที่ขุดค้นพบ โดยนักโบราณคดีชาวรัสเซียที่เมืองพาซิลิก (Pazyryk) ซึ่งพรมนี้ได้ใช้ห่อศพอยู่และต่อมาจึงได้ตั้งชื่อว่า พรมพาซิลิก จากการตรวจสอบอายุโดยใช้รังสี พบว่าพรมผืนนี้มีอายุเก่าแก่มากว่า 2,000 ปี มาแล้วและเป็นการถักทอจากลวดลายของชาวเปอร์เซีย จากหลักฐานดังกล่าวได้บ่งบอก ให้เห็นว่ามีการทอพรมในอิหร่านไม่ต่ำกว่า 2,500 ปีมาแล้ว



พิพิธภัณฑ์พรม Carpet Museum



พิพิธภัณฑ์พรม Carpet Museum



พิพิธภัณฑ์พรม Carpet Museum



พิพิธภัณฑ์พรม Carpet Museum

พูดคุยสนทนาการท่องเที่ยวได้ที่




https://www.facebook.com/planetbluetravel

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น