วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

มัณฑะเลย์ มอนญอ โปปา พุกาม ตองยี อินเล เจาะลึกอันซีนพม่า กรุงมัณฑะเลย์

มัณฑะเลย์ มอนญอ โปปา พุกาม ตองยี อินเล เจาะลึกอันซีนพม่า กรุงมัณฑะเลย์ เป็นอดีตเมืองหลวงราชธานีสุดท้ายก่อนจะเสียประเทศให้กับการรุกรานของอังกฤษ ที่นี่ถือเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่ารองจากนครย่างกุ้ง เป็นเมืองทีมีความสวยงามตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน



พระราชวังหลวง มัณฑะเลย์ Mandalay Palace โดยพระเจ้ามินดง สร้างขึ้นตามผังภูมิจักรวาลแบบพราหมณ์ปนพุทธ โดยสมมุติว่าเป็นจุดศูนย์กลางของโลก (เขาพระสุเมรุ) เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ทิศ ใจกลางพระราชวังเป็นห้องพระมหาปราสาท ยอดปราสาทหุ้มด้วยแผ่นทองซ้อนกัน 7 ชั้น สูง 78 เมตร รอยอดีตสุดท้ายก่อนพม่าเสียเมืองให้แก่อังกฤษ



บริเวณโดยรอบของพระราชวังหลวง มัณฑะเลย์



บริเวณภายในของพระราชวังหลวง มัณฑะเลย์



วัดชเวนันต่อ Shwenuntow Templeเป็นวัดที่เคยตั้งอยู่ในเขตพระราชวังหลวง สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เป็นสิ่งปลูกสร้างในสมัยพระเจ้ามินดง ที่เหลือเพียงหลังเดียวที่ยังเหลือรอดมาได้ หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ พระเจ้าตี่ป่อก็ได้โปรดให้ทรงย้ายมาตั้งไว้ยังที่ปัจจุบัน เป็นที่ประทับนั่งสมาธิของพระเจ้ามินดงพระราชบิดาของพระเจ้าตี่ป่อและสิ้นพระชนม์ชีพที่วิหารแห่งนี้



บริเวณด้านหน้าของ วัดชเวนันต่อ



วัดกุโสดอ Kuthodaw Temple พระเจ้ามินดง ทรงสร้างวัดแห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 5 มหกรรมแห่งมหากุศลที่พระองค์ทำสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2414 จึงโปรดฯให้จารึกพระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ ลงบนหินอ่อน 729 แผ่น แผ่นละ 2 หน้า รวม 1,428 หน้า และหนังสือกินเนสบุ๊คได้บันทึกไว้ว่า เป็นพระไตรปิฎกเล่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีการสร้างเจดีย์ขาวๆเรียกว่า เจดีย์น้อย เรียงรายอยู่มากมายดูสวยงาม ครอบหินจารึกภาษาบาลี ตรงกลางด้านในของวัด เป็นที่ตั้งของเจดีย์ทรงกลมในรูปแบบของพม่าที่ได้จำลองแบบมาจาก มหาเจดีย์ชเวสิกอง ที่พุกามนั่นเอง เจดีย์แห่งนี้มีชื่อเรียกว่า “มหาโลกมารชิน” ที่ชาวพม่านับถือกันมาก



เจดีย์ดีน้อย เรียงรายครอบหินจารึกภาษาบาลี ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของวัดกุโสดอ



เจดีย์ดีน้อย เรียงรายครอบหินจารึกภาษาบาลี ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของวัดกุโสดอ



เจดีย์วัดสันตมุนี ซึ่งติดกับวัดกุโสดอ จำลองแบบมาจาก มหาเจดีย์ชเวสิกอง เช่นเดียวกับวัดกุโสดอ แล้วโปรดฯให้อัญเชิญ “พระสันติมุนี” พระพุทธรูปหล่อด้วยเหล็กในสมัยพระเจ้าปดุง จากเมืองอมรปุระมาเป็นพระปฏิมาประธาน จึงถวายนามวักว่า “สันติมุนี” และยังโปรดเกล้าฯให้สร้างมณฑปบรรจุพระศพพระมหาอุปราช พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่ถูกขบถฆ่ารายล้อมพระเจดีย์ด้วย ต่อมา ฤษีอูขันตี ผู้รวบรวมจิตศรัทธาสร้างปูชนียสถานที่มณฑะเลย์คีรี ได้ใช้ช่างจารึกคำอรรถาธิบายพระไตรปิฎกลงบนแผ่นหิน 1,774 แผ่น พร้อมมณฑปสีขาวครอบไว้ เข่นเดียวกับที่วัดกุโสด



เจดีย์วัดสันตมุนี



เขา Mandalay Hill ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง เขาลูกนี้สูง 240 เมตร เป็นจุดชมวิว ทิวทัศน์ ที่สวยงามที่สุดของเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งอยู่บนยอดเขา ณ จุดนี้ท่านสามารถมองเห็นทัศนียภาพของ เมืองมัณฑะเลย์ เกือบทั้งเมือง ให้ท่านบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึก



วัดมหามัยมุนี Mahamaimuni Temple  ซึ่งแปลว่า วัดปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ วัดมหามัยมุนีอยู่ห่างจากใจกลางเมืองลงมาทางใต้ราว 3 กิโลเมตร บนถนนที่ตัดตรงไปสู่อมรปุระ สร้างขึ้นในปี 1784 โดยพระเจ้าโบ่ต่อพญา แต่ร้อยปีให้หลังนั้นเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ ทำให้ต้องสร้างซ้ำขึ้นใหม่



พระมหามัยมุนี อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 5 แห่งของพม่า เข้าร่วมพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ “พิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุณี” ที่วัดพระมหามัยมุณี ที่ถือปฎิบัติทุกวันมากว่า 200 ปีแล้ว ด้วยความเชื่อที่ว่า พระมหามัยมุณี คือพระพุทธเจ้าที่ยังมีลมหายใจ เล่ากันว่าถือเป็นต้นแบบพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ ทรงเครื่องกษัตริย์ที่ได้รับการขนานนามว่า “พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่ม” ที่พระเจ้ากรุงยะไข่ทรงหล่อขึ้นที่เมืองธรรมวดี เมื่อปี พ.ศ.689 สูง 12 ฟุต 7 นิ้ว หุ้มด้วยทองคำเปลวหนา 2 นิ้ว ทรงเครื่องประดับทองปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 9 ฟุต ในปี พ.ศ.2327



ล่องเรือแม่น้ำอิรวดีสู่มินกุน แม่น้ำนี้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตและอารยธรรมมานับพันปี มีต้นกำหนดมาจากขุนเขาในรัฐกะฉิ่น ทางตอนเหนือของประเทศพม่าไหลผ่านใจกลางแผ่นดินพม่าออกสู่ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย


พูดคุยสนทนาการท่องเที่ยวที่



https://www.facebook.com/planetbluetravel

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น