เมืองอะเรกีปา Arequipaขอแนะนำสถานที่น่าสนใจ คือ พิพิธภัณฑ์สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แอนเดียนแห่งมหาวิทยาลัยคาทอลิกซานตามาเรีย เพื่อชมมัมมี่ฮวนนิตา Juanita Mummy, มหาวิหารแห่งอะเรกีป้า, และ อารามชีลับ ซานตา คาตาลีน่าเมืองใหญ่ที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 รองจากกรุงลิมา ห่างจากกรุลลิมาลงมาทางใต้ 780 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาแอนดีส ที่ความสูง 2,380 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และอยู่ใกล้ภูเขาไฟ El Misti อาคารหลายแห่งในเมือง ถูกสร้างขึ้นด้วยหินภูเขาไฟสีขาว ทำให้เมืองนี้มีชื่อเล่นว่า "เมืองสีขาว" The White City; La Ciudad Blanca ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เมืองอาเรกีปาได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกในปี 2000 เมืองอะเรคิปา หรือ อะเรกีปา Arequipa - กล่าวกันว่าที่มาของชื่ออาเรกีปามาจากภาษาเกชัว Ari, quepay ซึ่งแปลว่า "ใช่ ที่นี่แหละ" ซึ่งเป็นคำพูดของมัยตา กาแพก กษัตริย์อินคาองค์ที่สี่ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นเมืองนี้ แต่นักวิชาการสันนิษฐานจากร่องรอยของชาวพื้นเมืองจากทะเลสาบตีตีกากา ว่าชื่ออาเรกีปาน่าจะมาจากภาษาอัยมารา ari แปลว่ายอด และ quipa แปลว่าอยู่ข้างหลัง ซึ่งรวมกันหมายถึง "เมืองที่อยู่หลังภูเขาไฟเอล มิสตี" จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในหุบเขาอันอุดมสมบูรณ์ที่เป็นที่ตั้งของอาเรกีปาตั้งแต่สมัย 6,000-5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าชาวอัยมารา Aymara อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เมื่ออาณาจักรอินคาเข้ายึดครองอาเรกีปาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมืองอาเรกีปาถูกก่อตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1540 โดย การ์ซี มานูเอล เดอ การ์บาคา ซึ่งเป็นทหารที่ฟรันซิสโก ปีซาร์โรส่งมา อิทธิพลของสเปนหลงเหลืออยู่ในสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ในเมืองจนทุกวันนี้ อาเรกีปาค่อนข้างจะแยกตัวจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศในสมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนและช่วงเริ่มต้นการเป็นสาธารณรัฐ แต่เมื่อทางรถไฟและถนนที่เชื่อมระหว่างเมืองนี้กับภูมิภาคอื่น ๆ เปิดใช้ อาเรกีปาก็กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างลิมากับเขตเปรูตอนใต้
อารามชีลับ ซานตา คาตาลีน่า Santa Catalina Convent ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1580 และมีขนาดเท่าเมืองย่อมๆ แห่งหนึ่ง อาคารส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นมาในสไตล์ Mudéjar
ผนังและตัวอาคารถูกทาด้วยสีจัดจ้าน ในแบบสถาปัตยกรรมสเปนตอนใต้ ในแคว้นอันดาลูเซีย ภายในอารามจะเป็นทางเดินที่แคบๆ ที่เต็มไปด้วยสีสันและการตกแต่งด้วยไม้ประดับ
สีสันอันจัดจ้านและการประดับประดามีให้เห็นทั่วไป
การตกแต่งที่สวยงามเต็มไปด้วยสีสันของผนังและต้นไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่ง
ภายในอาราม
มหาวิหารแห่งอะเรกีป้า Cathedral Basilica of Arequipa มหาวิหารที่ถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิหารที่มีมีชื่อเสียงของเปรู และยังเป็น ที่ตั้งของอัครมณฑลของคริสจักรโรมันแคทอลิก และที่พำนักของ อาร์คบิชอบ
มหาวิหารแห่งอะเรกีป้า Cathedral Basilica of Arequipa
มหาวิหารแห่งอะเรกีป้า Cathedral Basilica of Arequipa
โบสถ์แห่งชุมชนเยซู Church of the Society of Jesus (Iglesia de La Compañía) ภายในโบสถ์ ประกอบไปด้วย วิหารสำหรับประกอบพิธีทางศาสนา และหมู่อารามสงฆ์ ที่งดงามด้วยสุดยอดสถาปัตยกรรมแบบบาร็อคสกุลช่างสเปนแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 ยอดโดมของวิหารซานอิกนาซิโอ้ San Ignacio Dome ของตัวโบสถ์มีภาพจิตกรรมสีเฟรสโกประดับด้วยอัญมณีมีค่า ภายในตัวโบสถ์ประดับด้วยภาพจิตรกรรมเรื่องราวทางคริสต์ศาสนา กว่า 60 ภาพ โดยจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายท่านจากคุซโก้ ภาพจิตรกรรมเหล่านี้งดงามจนได้รับการเปรียบเปรยว่าเหมือนกับเป็น “โบสถ์น้อยซิสตีนแห่งทวีปอเมริกา
ภายในโบสถ์แห่งชุมชนเยซู Church of the Society of Jesus (Iglesia de La Compañía)
ภายในโบสถ์แห่งชุมชนเยซู Church of the Society of Jesus (Iglesia de La Compañía)
ภาพจิตกรรมสีเฟรสโกประดับด้วยอัญมณีมีค่า ภายในตัวโบสถ์ประดับด้วยภาพจิตรกรรม
อาคาร La Mansión del Fundador เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามใกล้กับแม่น้ำ Socabaya ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นของอาคารที่สร้างด้วยหินภูเขาไฟซิลลาร์เกือบทั้งหมด ภายในอาคารนั้นค่อนข้างหรูหราโอ่อ่า มีความสวยงามในแบบสไตล์โคโลเนียล นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเยือนล้วนให้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ที่โดดเด่นที่สุดของเมืองอาเรคีปา นอกจากนี้แล้ว La Mansión del Fundador ยังมีบริการห้องพักให้สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจจะพักที่นี่อีกด้วย
อาคาร La Mansión del Fundador
พิพิธภัณฑ์สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แอนเดียนแห่งมหาวิทยาลัยคาทอลิกซานตามาเรีย Catholic University of Santa María's Museum of Andean Sanctuaries (Museo Santuarios Andinos) ชม “มัมมี่ฮวนนิตา Juanita Mumni” ที่จะนำเราย้อนยุคไปเรียนรู้ความเชื่อของชนเผ่าอินคา ในอดีตเมื่อ 600 ปีก่อนฮวนนิตา เป็นมัมมี่ที่มีสภาพสมบูรณที่สุดเท่าที่เคยพบในประเทศเปรู นักมนุษยวิทยาชื่อ โจซัว พบร่างของเธอตรงใกล้ปากปล่องภูเขาไฟ แฃะได้นำร่างของเธอกลัมมาศึกษาทางโบราณคดีที่มหาวิทยาลัย แล้วตั้งชื่อให้เธอว่า “ฮวน Juan” ซึ่งเป็นภาษาสเปน ตรงกับชื่อของเขา “โจซัว” ส่วน นิตา แปลว่า หญิงสาว หรือแปลรวมๆว่า หญิงสาวของโจซัว
นักโบราณคดี เชื่อว่า ชนเผ่าอินคา ซึ่งนับถือเทพเจ้าแห่งธรรมชาติต่างๆ เช่น พระอาทิตย์ ภูเขา สายรุ้ง แม่น้ำลำธาร ได้คัดเลือก สาวงามที่สุดของเผ่า ซึ่งได้แก่ เธอ และเพื่อน อีก 4 นาง ไปรับใช้เทพเจ้าแห่งภูเขาไฟซิลลาร์เมื่อภูเขาไฟเกิดระเบิดขึ้นมา และเริ่มพ่นเถ้าถ่านภูเขาไฟ พวกเธอได้รับการตกแต่งร่างกายด้วยชุดอันสวยสดงดงามพร่อมเครื่องประดับเงิน ทองและขนนก เดินขึ้นไปบนภูเขาไฟ และให้เคี้ยวใบโคคาและเหล้าสมุนไพรให้ดื่ม เพื่อให้เกิดอาการสะลึมสะลือ พิธีบูชายัญด้วยบทสวดและเครืองดนตรีจากหมอผีประจำเผ่าทำให้เธอเคลิบเคลิ้มเข้าสู่ภวังค์ และทุกคนจะถูกทุบที่ทัดดอกไม้ให้ตายทีละคน และถูกมัดร่างในท่าทารกในครรภ์ ห่อด้วยผ้าสีสดงดงามทับซ้อนหลายชั้น ฝังที่ปากปล่องภูเขาไฟ พร้อมข้าวของเครื่องใช้ที่จะนำไปใช้ในภพหน้า ความหนาวเย็นและแห้งของอากาศทำให้ร่างของมัมมี่เหล่านี้ไม่เน่าเปื่อย และคงอยู่ในสภาพนี้หลายร้อยปี จนกระทั้งเมื่อภูเขาไฟเกิดประทุขึ้นมาใหม่ ความร้อนของเถ้าลาวาทำให้น้ำแข็งละลาย และร่างของเธอหล่นกลิ้งลงมาตามลาดไหล่เขา จนนักโบราณคดีไปพบเข้า และนำเธอมาศึกษา และเก็ยรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
สภาพของมัมมี่ขณะที่ยังไม่ได้แกะผ้าที่ห่อหุ้มออก
พูดคุยสนทนาการท่องเที่ยวได้ที่
https://www.facebook.com/planetbluetravel
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น