วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ราชาสถาน ท่องแคว้นแดนฟ้าจรดทราย เมือง จ๊อดปูร์ (Jodhpur) เมืองโรแมนติกแห่งนครสีฟ้า

ราชาสถาน ท่องแคว้นแดนฟ้าจรดทราย เมือง จ๊อดปูร์ (Jodhpur) เมืองโรแมนติกแห่งนครสีฟ้า “จ๊อดปูร์” (Jodhpur) หรือเมือง โยธะปุระ นครนักรบ ที่ทั่วทั้งเมืองเป็นสีฟ้าราวกับน้ำทะเล เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในแคว้นราชาสถาน ถูกตั้งขึ้นเป็นราชธานี โดย Rao Jodha แห่งราชวงศ์Rathor เมืองโยธปุระ มีฉายาว่าเมืองสีฟ้า ซึ่งในช่วงแรกนั้น การทาบ้านด้วยสีฟ้าจะมีเฉพาะบ้านของชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์เท่านั้น แต่ต่อมา มีความเชื่อว่า สีฟ้าจะช่วยกันแมลงและทำให้บ้านเย็นในฤดูร้อน ผู้คนจึงพากันทาบ้านตัวเองด้วยสีฟ้า จนกลายเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองจ๊อดปูร์




เมืองโยธปุระ มีฉายาว่าเมืองสีฟ้า ซึ่งในช่วงแรกนั้น การทาบ้านด้วยสีฟ้าจะมีเฉพาะบ้านของชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์เท่านั้น แต่ต่อมา มีความเชื่อว่า สีฟ้าจะช่วยกันแมลงและทำให้บ้านเย็นในฤดูร้อน ผู้คนจึงพากันทาบ้านตัวเองด้วยสีฟ้า จนกลายเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองจ๊อดปูร์



เมืองโยธปุระ มีฉายาว่าเมืองสีฟ้า ซึ่งในช่วงแรกนั้น การทาบ้านด้วยสีฟ้าจะมีเฉพาะบ้านของชาวฮินดู



เมืองโยธปุระ มีฉายาว่าเมืองสีฟ้า ซึ่งในช่วงแรกนั้น การทาบ้านด้วยสีฟ้าจะมีเฉพาะบ้านของชาวฮินดู



เมืองโยธปุระ มีฉายาว่าเมืองสีฟ้า ซึ่งในช่วงแรกนั้น การทาบ้านด้วยสีฟ้าจะมีเฉพาะบ้านของชาวฮินดู



อาณาจักรมาร์วาร์มีฐานะเป็นรัฐภายใต้อารักขาของจักรวรรดิโมกุลอันยิ่งใหญ่ โดยส่งส่วยเป็นบรรณาการแลกกับอำนาจการปกครองตนเอง มาร์วาร์เป็นแหล่งผลิตนายทหารชั้นดีที่ส่งไปร่วมทัพกับทัพโมกุลหลายคน เมื่อแม่ทัพนายกองเหล่านี้กลับบ้านเกิด ก็ได้นำอิทธิพลศิลปะและสถาปัตยกรรมของโมกุลมาด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสของพ่อค้าจากมาร์วาร์ในการ “ขยายสาขา” เสริมอิทธิพลและบทบาททางการค้าไปทั่วอินเดียเหนือที่สำคัญทางหนึ่ง



ป้อมเมห์รานการห์ (Mehrangarh Fort) เป็น 1 ใน 4 พระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ป้อมปราการที่ยาวเหยียดข้ามเขาถึง 125 ลูก ภายในมีพระราชวังที่สวยงามและใหญ่ที่สุด และเป็นจุดชมวิวเมืองสีฟ้าที่ดีที่สุด ไม่มีป้อมปราการแห่งไหนในราชาสถาน เด่นสง่าเทียบเท่า Mehrangarh Fort ไม่ว่าจะมองจากจุดไหนๆ ภายในเมือง จ๊อดปูร์ มหาปราการหินถูกสร้างบนเนินเขาสูง 122 เมตร ใน ค.ศ.1459 รู้จักกันในนามของภูจีริ (Bhaurcheeria) แปลว่าภูเขาวิหค สามารถมองเห็นตัวเมืองโยธาปุระได้โดยรอบ สามารถมองเห็นทิศทางที่ข้าศึกจะรุกรานมาได้รอบทิศ มีกำแพงหนาล้อมรอบ มีพระที่นั่งวังเล็กวังน้อยและสนามอยู่ภายในหลายหลาก



ป้อมเมห์รานการห์ (Mehrangarh Fort) เป็น 1 ใน 4 พระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ป้อมปราการที่ยาวเหยียดข้ามเขาถึง 125 ลูก ภายในมีพระราชวังที่สวยงามและใหญ่ที่สุด



ป้อมเมห์รานการห์ (Mehrangarh Fort)



ป้อมเมห์รังครห์จะต้องแล้งน้ำตลอดไป เจ้าโยธาตกใจแต่ก็พะเน้าเอาใจสร้างกุฏิและวัดให้อยู่ในป้อมเพื่อไถ่โทษ ถึงกระนั้นพื้นที่แห่งนี้ก็ยังประสบปัญหาขาดน้ำทุก 3-4 ปีจริงๆ ราวอาถรรพ์คำสาป เพื่อแก้อาถรรพ์ จึงมีการฝังชายฉกรรจ์ชื่อ ราชยะ ภิมพิ ที่ถึงฆาตต้องไปลงหลุมศิลาฤกษ์ ซึ่งคุณราชยะได้ขอให้เจ้าเผ่าราธอร์ดูแลครอบครัวลูกหลานของเขาเพื่อเป็นการตอบแทน



พระตำหนักโมติมาฮาล (Moti Mahal) หรือพระตำหนักไข่มุก ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การนำเปลือกหอยมุกมาบด ก่อนนำไปผสมปูนแล้วฉาบลงบนผนังห้อง ทำให้เวลาจุดเทียนตอนกลางคืนผนังห้องจะดูแวววาว ส่วนเพดานใช้กระจกสีสันสดใสตัดขอบด้วยสีทอง เพื่อช่วยเพิ่มมิติให้ห้องโดดเด่นขึ้น แต่จุดประสงค์การใช้งานห้องนี้ใช้สำหรับมหาราชาปรึกหาหารือข้อราชการกับข้าราชบริพารระดับสูง



พระตำหนักโมติมาฮาล (Moti Mahal)



ประตูแห่งชัยชนะ ชัยพล (Jai Pol) สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1806 เพื่อฉลองชัยชนะที่กองทัพมาร์วาร์ สามารถต้านทานการบุกรุกจากกองทัพของมหาราชาแห่งจัยปูร์และอุไดปูร์ได้ในคราวเดียวกัน โดยร่องรอยของกระสุนปืนใหญ่ฝังอยู่บนผนังหินของประตู ซึ่งแสดงให้เห็นการผ่านการกรำศึกมายาวนาน



ประตูแห่งชัยชนะ ชัยพล (Jai Pol)



ประตูโลหะพล (Loha Pol) อนุสรณ์แห่งความทรงจำของเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1843 ที่เหล่าสนของมหาราชามาน สิงห์ (Maharaja Man Singh) กระโดดเข้ากองไฟตายตามสามี เรียกว่าประเพณีสาติ (Sati) ซึ่งถือเป็นพิธีกรรมที่มีเกียรติของกลุ่มราชปุต แต่ประเพณีนี้ถูกสั่งห้ามเด็ดขาดในช่วงที่อินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ



ประตูโลหะพล (Loha Pol)



พระตำหนักพูลมาฮาล (Phool Mahal) หรือพระตำหนักแห่งมวลดอกไม้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1724 โดยได้รับการยกย่องว่าสวยและตกแต่งได้ละเอียดอ่อนที่สุดในบรรดาพระตำหนักทั้งหมดที่อยู่ในป้อมเมห์รานการห์ ความพิเศษของพระตำหนักคือภาพวาดบนผนังและเพดานทั้งหมดเป็นผลงานของศิลปินเพียงท่านเดียว ซึ่งต่อมาถึงแม้จะเสียชีวิตลง แต่มหาราชาก็ไม่ได้ให้ศิลปินอื่นมาสนผลงานต่อ จึงทำให้กำแพงบางส่วนเป็นเพียงผนังโล่งที่ไม่มีการตกแต่งใดๆ ส่วนเพดานและผนังห้องนั้น ใช้สีทองในการตกแต่งเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีภาพวาดลายดอกไม้และเถาไม้ประดับอยู่จำนวนมาก โดยสไตล์การวาดแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “รักมาลา” (Ragmala Painting) หมายถึง ภาพวาดแห่งสีสันและอารมณ์



ความพิเศษของพระตำหนักคือภาพวาดบนผนังและเพดานทั้งหมดเป็นผลงานของศิลปินเพียงท่านเดียว ซึ่งต่อมาถึงแม้จะเสียชีวิตลง แต่มหาราชาก็ไม่ได้ให้ศิลปินอื่นมาสนผลงานต่อ จึงทำให้กำแพงบางส่วนเป็นเพียงผนังโล่งที่ไม่มีการตกแต่งใดๆ ส่วนเพดานและผนังห้องนั้น ใช้สีทองในการตกแต่งเป็นส่วนใหญ่



ความพิเศษของพระตำหนักคือภาพวาดบนผนังและเพดานทั้งหมดเป็นผลงานของศิลปิน



วัด Chamunda Mataji จากนั้นไปชมอนุสรณ์สถานจัสวันต์ธาดา (Jaswant Thada) ตั้งอยู่ห่างจากป้อมเมห์รานการ์ไปประมาณ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1899 โดยสร้างจากหินอ่อน โดยมีจุดเด่นอยู่ตรงประตูและเสาที่แกะสลักได้อย่างละเอียดงดงาม เพื่ออุทิศให้กับมหาราชาจัสวันต์ สิงห์ที่ 2 (Maharaja Jaswant Singh ll) หลังกจากที่พระองค์เสียชีวิตไปแล้ว 4 ปี โดยพระองค์เป็นมหาราชาที่ได้รับการนับถืออย่างล้นหลามจากประชาชน นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการชลประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งของเมืองด้วย



จุดเด่นอยู่ตรงประตูและเสาที่แกะสลักได้อย่างละเอียดงดงาม เพื่ออุทิศให้กับมหาราชาจัสวันต์ สิงห์ที่ 2 (Maharaja Jaswant Singh ll) หลังกจากที่พระองค์เสียชีวิตไปแล้ว 4 ปี โดยพระองค์เป็นมหาราชาที่ได้รับการนับถืออย่างล้นหลามจากประชาชน



จุดเด่นอยู่ตรงประตูและเสาที่แกะสลักได้อย่างละเอียดงดงาม


พูดคุยสนทนาการท่องเที่ยวได้ที่



https://www.facebook.com/planetbluetravel

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น