วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เกาหลีใต้ ในสายลมหนาว เกาะเชจู Jeju Island

เกาหลีใต้ ในสายลมหนาว เกาะเชจู Jeju Island
จุดแรกที่สัมผัสเกาะเชจู Jeju Island หรือ เชจู-โด ในภาษาเกาหลี เป็นหนึ่งในเก้าจังหวัดของเกาหลีใต้ ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติในชื่อ "เกาะเชจูและถ้ำลาวา" เมื่อปี 2550 เนื่องจากเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆ ในอดีตของโลก และเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ชื่อ “เชจู” ในภาษาเกาหลีมีความหมายว่า “เกาะแห่งองค์สาม” กล่าวคือเป็นที่รมของส่วนประกอบ 3 ประการ คือ หิน ลม และผู้หญิง ส่วนประกอบ 3 ประการนี้มีความหมายว่า “ลม” บนเกาะเชจูจะโบกพัดตลอดทั้งปี ในขณะที่ “ผู้หญิง” มีที่มาจากอดีตเมื่อนานมาแล้วที่ชาวเกาะเชจูเดิมยึดอาชีพทำการประมงเป็นหลัก ผู้ชายจะมีหน้าที่ออกเรือหาปลาในทะเล ผู้หญิงก็จะรออยู่บนเกาะพร้อมกับรับหน้าที่เป็นแม่บ้านดูแลลูกและเตรียมอาหารไว้รอดสามี แต่เพราะคลื่นลมทะเลที่ผันผวนรุนแรงทำให้ผู้ชายส่วใหญ่ถูกพายุพัดพาจมหายไปพร้อมกับเรืออยู่เสมอ เกาะแห่งนี้จึงเหลือประชากรที่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอย่างเห็นได้ชัดในอดีตเกาะเชจูเคยเป็นสถานที่ที่ใช้เนรเทศนักโทษทางการเมือง หรือนักโทษหนักๆ ถ้ายังจำกันได้ ในเรื่องแดจังกึม ก็มีฉากที่นางเอกของเรื่องต้องโทษถูกเนรเทศมายังเกาะเชจูด้วยเหมือนกัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เกาะเชจูตกอยู่ในการยึดครองของชาวมองโกล ซึ่งกินเวลานานนับร้อยปี ทำให้วิถีชีวิตของชาวเกาะเชจูได้รับอิทธิพลจากมองโกลเป็นอย่างมาก



เกาะเชจูเดิมยึดอาชีพทำการประมงเป็นหลัก ผู้ชายจะมีหน้าที่ออกเรือหาปลาในทะเล ผู้หญิงก็จะรออยู่บนเกาะพร้อมกับรับหน้าที่เป็นแม่บ้านดูแลลูกและเตรียมอาหารไว้รอดสามี แต่เพราะคลื่นลมทะเลที่ผันผวนรุนแรงทำให้ผู้ชายส่วใหญ่ถูกพายุพัดพาจมหายไปพร้อมกับเรืออยู่เสมอ เกาะแห่งนี้จึงเหลือประชากรที่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด



ในอดีตเกาะเชจูเคยเป็นสถานที่ที่ใช้เนรเทศนักโทษทางการเมือง หรือนักโทษหนักๆ ถ้ายังจำกันได้ ในเรื่องแดจังกึม ก็มีฉากที่นางเอกของเรื่องต้องโทษถูกเนรเทศมายังเกาะเชจูด้วยเหมือนกัน



เกาะเชจู jeju



หินปู่ ทอลฮารุบัง” Dolharubang การที่เกาะเชจูนั้นเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน ทำให้มีหินภูเขาไฟหรือหินลาวาอยุ่มากมายทั่วทั้งเกาะ และหินลาวาเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของเกาะเชจู



“ทอลฮารุบัง” Dolharubang หรือ “หินปู่” ซึ่งเป็นการแกะสลักหินลาวาภูเขาไฟให้เป็นรูปคนแก่ใจดีที่ชาวเชจูโบราณเชื่อว่าจะช่วงคุ้มครองคุ้มภัยให้กับสถานที่แห่งนี้ และเชื่อกันว่า หากใครได้ลูบท้องของทอลฮาลุบังก็จะร่ำรวยและมีโฃคลาภ หรือหากคู่แต่งงานพากันมาลูบหูทอลฮารุบังก็จะได้ลูกผู้หญิง หากลูบจมูกก็จะได้ลูกชาย



ใครที่มาเที่ยวเกาะเชจู เราก็จะเห็นมาลูบทอลฮารุบังกันใหญ่ ส่วนจะลูบจุดใดก็ต้องแล้วแต่วัตถุประสงค์ส่วนตัว และทอลฮารุบังถูกแกะสลักให้มีขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่เล็กเพียงแค่ 1 นิ้วไปจนถึงขนาดใหญ่เบ้อเริ่มก็มีอยู่มาก ปัจจุบันทอลฮารุบังก็กลายมาเป็นคู่ถ่ายภาพของนักท่องเที่ยวไปจนหมด



โขดหินยงดูอัม Yongduam Rock หินที่มีรูปทรงแปลกประหลาดคล้ายกับหัวมังกรรที่เกิดจากหินถูกกัดกร่อนโดยคลื่นลมทะเลมายาวนาน



ตำนานที่เล่าขานกันมายาวนานบนเกาะเชจูแห่งนี้เล่าว่า ครั้งหนึ่งราชาแห่งมงกรได้สั่งให้องค์รักษ์ออกเสาะหายาอายุวัฒนะบนภูเขาฮัลลา



หินรูปมังกรที่มีส่วนหัวชูขึ้นสู่สวรรค์และส่วนของลำตัวจมอยู่ใต้ทะเล

พูดคุยสนทนาการท่องเที่ยวที่

https://www.facebook.com/planetbluetravel


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น