วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน อู่อารยธรรมใจกลางเส้นทางสายไหม

อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน อู่อารยธรรมใจกลางเส้นทางสายไหม
ชื่อทางการว่าสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (Republic of Uzbekistan)
เป็นประเทศในเอเชียกลางที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Double landlocked country) ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่ขนาบด้วยแม่น้ำใหญ่ 2 สาย คือแม่น้ำอามูดารยาและแม่น้ำซีร์ดารยาซึ่งเป็นแม่น้ำ 2 สายหลักของประเทศ มีพรมแดนติดกับประเทศอัฟกานิสถาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยึดครองดินแดนของประเทศอุซเบกิสถานเมื่อ 367 ปีก่อนคริสตกาล ในภายหลังดินแดนแห่งนี้ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซียในช่วงคริสต์ศตวรรตที่ 6 ก่อนจะถูกยึดครองโดยจักรวรรดิมองโกลของเจงกิสข่านเมื่อ ค.ศ. 1220 ในศตวรรษที่ 13 ขุนศึกชื่อติมูร์ (Timur / Tamerlane) ได้มีอำนาจเหนือมองโกล และตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นมาที่เมืองซามาร์คานด์ซึ่งติเมอร์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ในการสร้างชาติอุซเบกิสถานในยุคปัจจุบัน ด้วยภูมิประเทศที่มีธรรมชาติอันงดงามและหลากหลายตั้งแต่ทะเลทราย โอเอซิส ภูเขาสกีรีสอร์ทจึงเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวหลากรูปแบบตั้งแต่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประเทศนี้กำลังกลายเป็นแหล่งสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคตที่พรั่งพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวทุกรูปแบบจากทุกมุมโลกอันเนื่องจากอุดมไปด้วยอารยธรรมและวัฒนธรรมโบราณกว่า 2,500 ปี ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมของแท้จนได้รับการขึ้นเป็นมรดกโลกหลายต่อหลายแห่งเลยทีเดียว




คาราวานซาราย Caravanserai อดีตที่พักกลางทะเลทรายสำหรับพ่อค้าที่เดินทางค้าบนเส้นทางสายแพรไหม ในปัจจุบันท่านยังสามารถเห็นบ่อน้ำกลางทะเลทรายอายุพันปีและยังมีน้ำไหลไม่เหือดแห้งให้ผู้ที่ผ่านไปมาได้ใช้ดื่มและหุงหาอาหาร



เมืองแห่งโดมสีฟ้า The City of Blue Domes ในประวัติศาสตร์ถ้านับย้อนหลังไปหลายร้อยปี ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกอิสลามเพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจที่สามารถปกครองดินแดนได้มากกว่าใครในประวัติศาสตร์ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1399 ใช้เวลาก่อสร้างนาน 5 ปี ใช้ช่างฝีมือ 200 คน แรงงาน 500 คน ช้างอีก 95 เชือก ปัจจุบันยังคงโดดเด่นตระหง่านเหนือเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะตัวโดมได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนี้ ภายในตกแต่งด้วยหินอ่อนแกะสลักโมเสกรูปต่างๆ เคลือบด้วยสีฟ้างดงาม



จัตุรัสเรจีสถาน Registan Square เป็นจัตุรัสกลางเมืองซามาร์คานด์ที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่ งดงามไปด้วยศิลปะอิสลามซึ่งถูกกล่าวขานว่ามีความงดงามที่สุดในเอเชียกลางตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีฟ้าตัดขอบด้วยสีเหลือง รายล้อมไปด้วยโรงเรียนสอนศาสนา (Madrasah) ถึง 3 แห่ง คือ อุลุกเบก (Ulug Beg) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ.1417-1420 และเชียดอร์ (Shir Dor) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1619-1636 โดยเลียนแบบมาจากอุลุคเบค ผนังกำแพงมีลวดลายรูปทรงเรขาคณิตและซุ้มประตูมีรูปเสือลายพาดกลอนที่แตกต่างไปจากสถาปัตยกรรมทั่วๆ ไปของศาสนาอิสลามส่วนทิลยาคารี (Tilys Kari) ถูกสร้างขึ้นอยู่ทางด้านเหนือในศตวรรษที่ 17 และใช้เวลาสร้างประมาณ 20 ปี ซึ่งผนังและซุ้มในกำแพงมีการปิดทองมากกว่าที่อื่นใด




สุสาน กูร์ อะมีร์ Gur Amir Mausoleum ที่ฝังศพของหลานชายสุดที่รักของข่านติเมอร์ (Timur) นามว่า Muhhamed Sultan สร้างใน ค.ศ. 1404 หลังจากนั้น 1 ปี ติเมอร์ (Timur) เสียชีวิตลง ลูกชายของ Timur เองได้ย้ายที่ฝังศพพ่อมาอยู่รวมกับหลานรัก ณ เวลานั้นสถานที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า “Burial-vault of Timurids” ตัวอาคารประกอบด้วยหลายส่วน รวมถึงห้องสวดมนต์ของชาวมุสลิม



มัสยิดบีบีคานิม Bibi-Khanum Mosque สร้างโดยข่านทิเมอร์โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1399-1404 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี โดยใช้ช่างฝีมือจากหลายประเทศโดยตั้งใจจะสร้างให้เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อแสดงอำนาจที่สามารถพิชิตดินแดนในอินเดียได้



มัสยิดบีบีคานิม Bibi-Khanum Mosque



หอดูดาวอูลุกเบก Ulugbeg Observatory สร้างโดยข่านอุลุกเลก ในค.ศ. 1428-1429 เป็นอาคาร 3 ชั้นสูง 30 เมตรด้านบนยอดคล้ายโดมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวทางดาราศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ดูดาวซึ่งแสดงถึงอัจฉริยะทางดาราศาสตร์ของข่านที่เคยคำนวนรอบปีเฉียดไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลังจากที่ข่านอุลุกเบกเสียชีวิต หอดูดาวก็ได้รับความเสียหายจากขโมยและพวกคลั่งศาสนา แต่โชคดีที่ชั้นล่างไม่ถูกทำลายต่อมาได้รับการซ่อมแซมขึ้นมาใหม่



หอดูดาวอูลุกเบก Ulugbeg Observatory



มัสยิดบีบีคานิม Bibi-Khanum Mosque สร้างโดยข่านทิเมอร์โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1399-1404 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี โดยใช้ช่างฝีมือจากหลายประเทศโดยตั้งใจจะสร้างให้เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อแสดงอำนาจที่สามารถพิชิตดินแดนในอินเดียได้


ดูสถานที่ท่องเที่ยวอื่นต่อได้ที่



https://www.facebook.com/planetbluetravel

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น