จุดแรกที่สัมมผัสเมืองหลวงและเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแคว้นราชาสถาน เมืองชัยปุระ หรือ จัยปูร์ (Jaipur) เมืองชัยปุระ นครแห่งชัยชนะ คนอินเดียเรียกเมืองนี้ว่า จัยปูร์ หรือ จัยเปอร์ รัฐราชสถานได้ชื่อว่า นครสีชมพู (Pink city) โดยที่มาของเมืองสีชมพูก็เนื่องจากในปีค.ศ. 1876 มหาราช ซาราม ซิงห์ (Maharaja Ram Singh) ได้มีรับสั่งให้ประชาชนทาสีชมพูทับบนสีปูนเก่าของบ้านเรือนตนเอง เพื่อแสดงถึงไมตรีจิตครั้งต้อนรับการมาเยือนของเจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Waies) เจ้าชายมกุฎราชกุมารของอังกฤษ ซึ่งภายหลังคือกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 (King Edward Vll) แห่งสหราชอาณาจักรและต่อมารัฐบาลอินเดียก็ยังออกกฎหมายควบคุมให้สิ่งก่อสร้างภายในเขตกำแพงเมืองเก่าต้องทาสีชมพูเช่นเดิม จนกลายเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาและทำให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ต่างพากันเดินทางมายังเมืองชัยปุระอย่างไม่ขาดสาย
เมืองชัยปุระ นครแห่งชัยชนะ คนอินเดียเรียกเมืองนี้ว่า จัยปูร์ หรือ จัยเปอร์ รัฐราชสถานได้ชื่อว่า นครสีชมพู (Pink city) โดยที่มาของเมืองสีชมพูก็เนื่องจากในปีค.ศ. 1876 มหาราช ซาราม ซิงห์ (Maharaja Ram Singh) ได้มีรับสั่งให้ประชาชนทาสีชมพูทับบนสีปูนเก่าของบ้านเรือนตนเอง เพื่อแสดงถึงไมตรีจิตครั้งต้อนรับการมาเยือนของเจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Waies)
เมืองชัยปุระ นครแห่งชัยชนะ คนอินเดียเรียกเมืองนี้ว่า จัยปูร์ หรือ จัยเปอร์ รัฐราชสถานได้ชื่อว่า นครสีชมพู (Pink city)
ขี่ช้างขึ้นชมพระราชวัง แอมเบอร์ฟอร์ท (Amber fort) ซึ่งเดิมเคยเป็นราชธานีของเมืองจัยปูร์ สร้างอยู่บนเนินเขาสูงตรงตำแหน่งเดิมที่เคยเป็นป้อมปราการเก่าในศตวรรษที่ 11มาก่อน สร้างขึ้นโดยมหราชาแมนสิงห์ ในปี ค.ศ. 1592 และเสร็จสิ้นลงในสมัยของมหาราชาใจสิงห์ ป้อมแห่งนี้เป็นต้นแบบที่ดีของสถาปัตยกรรมแบบราชปุต Rajput เป็นป้อมปราการเด่นตระหง่านอยู่บนเนินเขาโดยมีทะเลสาบ Maota อยู่เบื้องล่าง แวดล้อมด้วยชุมชนของเขตเมืองเก่า ทัศนียภาพเมื่อมองลงมาจากป้อมเป็นสิ่งที่น่าประทับใจมาก
แอมเบอร์ฟอร์ท (Amber fort)
แอมเบอร์ฟอร์ท (Amber fort)
ซิตี้พาเลช (City Place) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 7 ของใจกลางเมือง สร้างตั้งแต่สมัยมหาราชาชัยสิงห์ และต่อเติมกันเรื่อยมาเป็นสถาปัตยกรรมแบบราชสถาน ที่แสดงถึงลักษณะของศิลปะแบบโมกุลปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงของใช้ส่วนพระองค์ของมหาราชาแห่งเมืองจัยปูร์ แม้ยุคนี้จะไม่มีมหาราชาอีกต่อไป แต่ City Palace แห่งนี้ก็ยังเป็นสมบัติส่วนพระองค์ และชาวเมืองจัยปูร์บางส่วนก็ยังนับถือพระองค์อยู่แม้พระองค์จะไม่มีอำนาจใดๆ
สถาปัตยกรรมแบบราชสถาน ที่แสดงถึงลักษณะของศิลปะแบบโมกุลปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงของใช้ส่วนพระองค์ของมหาราชาแห่งเมืองจัยปูร์
สถาปัตยกรรมแบบราชสถาน ที่แสดงถึงลักษณะของศิลปะแบบโมกุลปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงของใช้ส่วนพระองค์ของมหาราชาแห่งเมืองจัยปูร์
จันทราแมนทาร์ (Jantar Mantar) ที่ปากทางเข้าซิตี้พาเลส มีสร้างในปี ค.ศ. 1727 โดยมหาราชาใจสิงห์ พระองค์ยังทรงเป็นกษัตริย์นักดาราศาสตร์ จึงทรงสร้างหอดูดาวและอุปกรณ์ดาราศาสตขนาดใหญ่ไว้มากมาย เรียกว่า Jantar Mantar ไม่ใช่แค่ 1 แห่งแต่มีถึง 5 แห่ง อีก 4 แห่งอยู่ที่ Delhi, Ujjain, Varanasi และ Matura แต่ที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่นี่ นาฬิกาแดด สูงถึง 28 เมตร ที่ยังเที่ยงตรงอยู่ บอกเวลาที่เมืองจัยปูร์โดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่ตรงกับเวลามาตรฐานของอินเดีย
จันทราแมนทาร์ (Jantar Mantar)
จันทราแมนทาร์ (Jantar Mantar)
จันทราแมนทาร์ (Jantar Mantar)
บาดีโซปาร์ (Badi Chaupar) และโซติปาร์ (Choti Chaupar) ซึ่งเป็นจุดสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ เพราะแวดล้อมไปด้วยสถานที่สำคัญต่างๆ โดย “โซปาร์” (Chapar) เป็นภาษาท้องถิ่นแปลว่าสี่แยกหรือจัตุรัส นอกจากนี้ บาดีโซปาร์ ยังถือเป็นหัวใจสำคัญของเมืองเก่ามาตั้งแต่อดีต เนื่องจากเป็นจุดนัดพบและแหล่งจับจ่ายสินค้าราคาแพง เช่น ชุดแต่งงาน เครื่องประดับ และอัญมณี
บาดีโซปาร์ (Badi Chaupar) และโซติปาร์ (Choti Chaupar)
บาดีโซปาร์ (Badi Chaupar) และโซติปาร์ (Choti Chaupar)
ดูสถานที่ท่องเที่ยวอื่นต่อได้ที่
https://www.facebook.com/planetbluetravel
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น